ตามรอยพ่อ

 


 

                                                   
 “ศาสตร์พระราชา” ของ “ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ” เปรียบดังแสงทองส่องแผ่นดินไทย

                     “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สขแห่งมหาชนชาวสยาม ”
       นี้คือพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ถือเป็นพระปฐมบรมราชโองการอันเป็นหัวใจสําคัญของ “ศาสตร์พระราชา” ที่ทรงใช้พระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลนําพาประเทศให้รอดพ้นจากอุปสรรคนานัปการในทุกมิติ เพื่อการอยู่ดีกินดีของพสกนิกรชาวสยามของพระองค์  “ศาสตร์พระราชา”นับเป็นมรดกอันล้ําค่าของในหลวงรัชกาลที่ ๙ที่พสกนิกรชาวไทย
ได้น้อมนํามาเป็นปรัชญาในการดํารงชีวิต รวมทั้งใช้แก้ปัญหาของประเทศชาติ ดั่งกระแสพระราชดํารัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อันมีใจความสําคัญที่เป็นสิริมงคลแก่ปวงพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยผู้จัดเห็นว่าพวกเราทุกคนควรได้ระลึกและรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
น้อมนําไปสู่การปฏิบัติ สรุปใจความได้ว่า...
          “...ขอให้น้อมนําศาสตร์พระราชา” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ โดยให้ศึกษาวิเคราะห์พระราชดําริและแนวทางพระราชทานนานัปการ ตลอดระยะเวลา 70 ปี
ที่ผ่านมา รวมทั้ง พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน, การประกอบกิจการและการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในความรับผิดชอบ รวมทั้งยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีในกิจวัตรประจําวัน
อันจะเป็นสิริมงคล เป็นพระคุ้มครอง และเป็น “แสงสว่างนําทาง” ให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคนตลอดไป
 การน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” ที่ถือว่าเป็น “แนวทางแห่งชีวิต” ไปสู่การปฏิบัติโดยเริ่มจากครอบครัวขยายผลไปยังชุมชน และเชื่อมต่อไปยังภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งสามารถทําได้ทุกกลุ่ม และทุกสังคม ทั้งนี้ศาสตร์พระราชานั้นเป็นคําสอนของพ่อ ไม่มีในตําราแบบเรียน และไม่ใช่การอ่านบทความสั้นๆในหน้าหนังสือพิมพ์แล้วจะเข้าใจ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่เราจะต้องลงมือทํา อย่างจริงจัง ต้องใช้เวลาศึกษาและปฏิบัติโดยประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งมีองค์ประกอบที่สําคัญ ๒ ประการ ประการแรก คือ ธรรมะ ซึ่งเป็นเรื่องที่สําคัญในการปฏิบัติที่ถูกต้องและจําเป็นสําหรับทุกคน ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการ และอีกประการหนึ่งคือ ความรู้ที่เหมาะสมกับฐานะ เหมาะสมกับกําลัง เหมาะสมกับดิน กับน้ํา เหมาะสมกับภูมิศาสตร์ และเหมาะสมกับวิถีชีวิตของเราเอง นี้คือ สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงสอนไว้ โดยพระองค์ท่านทรงทําให้เห็นเป็นตัวอย่างให้พสกนิกรของพระองค์ได้ปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาของพระองค์ และที่สําคัญได้นําไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป

       ในการนี้ รัฐบาลภายใต้การนําของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้สนองพระราชปณิธาน นําแนวทางดังกล่าวมาบริหารประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่พี่น้องชาวไทยทุกคน แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานใดๆย่อมมีปัญหา ย่อมมีอุปสรรค จึงขอให้พี่น้องคนไทยทุกคนควรปรึกษาหารือกัน หาข้อมูลที่ถูกต้อง และปฏิบัติด้วยความรอบคอบ ทันกับเวลา เหมาะสมกับสถานการณ์และมีเหตุผล ทั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นนอกจากจะเป็นเสมือน “บททดสอบ บทเรียน” แล้ว ยังจะเป็นสิ่งที่ช่วย “เพิ่ม” ความสามารถให้กับเราทุกคนด้วยดังนั้น เราควรจะต้องมีความตั้งใจ มีขันติ มีความอดทน ตลอดจนมีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้รอบคอบ ก็จะได้ผลดีต่อประเทศ และเป็นบุญเป็นกุศลกับตนเองด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลชุดนี้ได้ดําเนินงานในด้านต่างๆ ด้วยกันหลายด้าน เช่นด้านทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ํา และสัตว์ป่า โดยการน้อมนํา “ศาสตร์พระราชา” ที่มีหลักการที่ครอบคลุม “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจังนั้น ก็เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึงจะต้องรักษาสมดุล ทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้จะต้องไม่มองข้าม “มิติสิ่งแวดล้อม” ด้วย    แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งที่สําคัญอีกประการคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับ “ฐานราก” เหมือน “เสาเข็ม” ถึงแม้ไม่มีใครมองเห็น หรืออาจถูกลืมเลือน แต่เป็นโครงสร้างที่มีความสําคัญต่อโครงสร้างโดยรวมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับ “ชุมชน” ซึ่งเปรียบดั่ง “ฐานราก” ของประเทศ โดยในหลวงรัชกาลที่ ๙ทรงกําชับว่า “บทเรียนบทแรกก็คือ ให้ชาวบ้านเป็นครู” และให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเน้น“การระเบิดจากข้างใน คือ ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้คนและครอบครัวในชุมชนที่เข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก” ซึ่งไม่ใช่การยัดเยียดจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว      ทั้งนี้ “ปัจจัยสู่ความสําเร็จ” ดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ปัจจัยแรก คือ  วิสัยทัศน์และการเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นํา แกนนํา กรรมการหมู่บ้าน ปัจจัยที่สอง คือ ความร่วมแรง ร่วมใจ และความมุ่งมั่น รับผิดชอบในหน้าที่ ต่อบทบาทของแต่ละคน ปัจจัยที่สาม คือ เวทีประชาคมที่เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วม รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุ่งให้การช่วยเหลือและร่วมแก้ปัญหา รวมทั้งความมี วินัยและเคร่งครัดในกฎกติกาของหมู่บ้าน และ ปัจจัยสุดท้าย คือ การใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือ ในการสาน ความสัมพันธ์ สมาชิกหมู่บ้าน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย เข้าด้วยกัน การเดินหน้าพัฒนาประเทศของรัฐบาลชุดนี้ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาไปสู่แนวทางที่ดีขึ้น โดยการนําศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการลดช่องว่างและแก้ไขข้อบกพร่องในอดีต ไม่ให้ เกิดขึ้นซ้ําซากอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ภาครัฐจะใช้ความพยายามมากมายเพียงใดหากไม่ได้รับความร่วมมือ จากภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการแล้ว การก้าวไปสู่ความ “สําเร็จ” ของเราทุกคน ทุกฝ่าย ก็ไม่อาจประสบความสําเร็จได้ ทั้งนี้รัฐบาลได้ริเริ่มกลไก “ประชารัฐ” เพื่อสานพลังทุกภาคส่วนเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงกัน เกื้อกูลกัน เกิดเป็น “ห่วงโซ่” ที่ไม่อาจแยกคิด แยกทําได้อีกต่อไป ทั้งนี้  “ห่วงโซ่” ทุกห่วง ต้องเข้มแข็งไปด้วยกันเพราะเราจะวัด “ความแข็งแรงของโซ่” ณ จุดที่อ่อนแอที่สุด จึงเป็นที่มาของวลีที่ว่า “เราไม่สามารถทิ้งใครไว้ข้างหลัง” แต่เราต้องพัฒนาซึ่งกันและกัน และพัฒนาเคียงบ่าเคียงไหล่ไปพร้อมๆ กันนะ 
         สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคที่ทําให้ประเทศเกิดการพัฒนาได้ช้าลง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น “จุดอ่อน” ของประเทศไทย เกิดจากคนบางกลุ่มนั่นเอง ก็คือการไม่สามารถแยกแยะ และไม่เข้าใจคําสําคัญ ๓ คํา คือ “สิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพ” ทั้งนี้ “สิทธิ” นั้นหมายถึง อํานาจหรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองตามกฎหมายที่เราทุกคนย่อมมี ส่วน “หน้าที่” หมายถึง ภาวะที่บุคคลต้องกระทําหรืองดเว้นกระทําตามที่กฎหมายกําหนดไว้ เราจะเรียกร้องแต่ “สิทธิ” โดยไม่สนใจ “หน้าที่” ก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะจะทําให้สังคมเกิดความสับสน อลหม่าน วุ่นวาย ทุกอย่างต้องอาศัยกฎหมายเป็นปัจจัยสําคัญเสมอดังนั้น เราทุกคนควรสํารวจความเข้าใจเหล่านี้ให้ถูกต้อง ช่วยกันลดจุดอ่อนในตัวเอง ขจัดจุดอ่อนของสังคมด้วยการปรับทัศนะและกระบวนการคิดของตัวเอง โดยการมองโลกไปในทางที่ดี การปลูกจิตสํานึกให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และการเสริมสร้างอุดมการณ์ความรักชาติ เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมาย สู่การพัฒนาเดียวกัน “ทั้งประเทศ”
          นี่คือ “ศาสตร์พระราชา” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ที่เปรียบดังแสงทองสองแผ่นดินไทย ปัดเป่าวิกฤติของประเทศให้พ้นจากภัยต่างๆ เป็นมรดกอันล้ําค่าให้พสกนิกรของพระองค์นําไปดําเนินชีวิต และบริหารประเทศ ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศาสตร์พระราชานั้นจะเน้น “การพัฒนาคน” เป็นตัวตั้ง และยึดหลัก “ผลประโยชน์ของปวงชน” เป็นสิ่งสําคัญ เมื่อมองเทียบกับการดําเนินชีวิตประจําวัน และการพัฒนาประเทศให้ประสบความสําเร็จได้นั้น ย่อมมีหลักการพื้นฐานไม่ต่างกันมากนัก แต่สิ่งสําคัญสุดอันดับแรกที่จะต้องทํา คือการลดความขัดแย้งกัน โดยเราทุกคน ทุกหมู่เหล่าควรที่จะน้อมนําหลักดังกล่าวนี้ของพระองค์ใส่เกล้า หันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน พร้อมทั้งร่วมมือกับภาครัฐบาล และภาคเอกชน สร้างสรรค์ความคิด ความรัก ความสามัคคี เดินหน้าประเทศไทยสู่ความเจริญรุ่งเรือง อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนําของ ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้นําหลักการดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศ ทําตามขั้นตอนตามโรดแม็ป เพื่อนําไปสู่การเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ฉะนั้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และระลึกถึงความดีของพระองค์ เราคนไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่าควรร่วมกันทําความดี ทําสิ่งดีๆ เพื่อให้พระองค์ท่านสบายพระทัยในสัมปรายภพ สิ่งใดที่จะทําให้ดวงพระวิญญาณของพระองค์ เกิดความทุกข์พระทัยเราทุกคนควรหลีกเลี่ยงด้วยประการทั้งปวง โดยการยุติความขัดแย้ง ยุติความแตกแยก ยุติความเกลียดชัง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญที่สถิตย์อยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งประเทศตลอดไป

                                                                                                    โดย กอก ปจว.




--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


      ปัจจุบันนี้ โครงการพระราชดำริมีจำนวนมากมายครอบคลุมการพัฒนาหลายประเภทหลายสาขา เช่น ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการชลประทาน การเกษตร การส่งเสริมอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดและพัฒนาที่ดิน การพัฒนาการคมนาคม การพัฒนาสาธารณสุข การศึกษา การวิจัย และการสงเคราะห์ต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากโครงการพระราชดำริในองค์พระบาทสมเด็จพระ ...

www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com : โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com/th/blog_category/category/2


%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%




เข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับ ปชช.ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก วันที่ 6 ก.ย. 62

เมื่อ 6 ก.ย.62 เวลา1200 น. ร้อย.ปจว.3 จัด กพ.ชุดบรรเทาสาธารณภัย ทำการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ประสพอุทกภั...